เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 91. สุขสหคตทุกะ 7. ปัญหาวาร
ศรัทธาที่ไม่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ เสนาสนะและสุขเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สหรคต
ด้วยสุข ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ ความปรารถนา
ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ มรรค และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยสุข เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขและ
ไม่สหรคตด้วยสุขโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ
อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่ไม่สหรคตด้วยสุขแล้วให้ทานด้วย
จิตที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ (เหมือนกับข้อความตอนที่ 2 ) มีมานะ ถือทิฏฐิ
อาศัยศีลที่ไม่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ เสนาสนะและสุขแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติ
ให้เกิดขึ้น ลักทรัพย์ด้วยจิตที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ศรัทธาที่ไม่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ
เสนาสนะและสุขเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ ความปรารถนา ...
สุขทางกาย ... มรรค ... ผลสมาบัติและสุขโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขและไม่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
สหรคตด้วยสุขโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ

ปุเรชาตปัจจัยเป็นต้น
[174] สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่สหรคต
ด้วยสุขโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุด้วยจิตที่ไม่
สหรคตด้วยสุข โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภ
ความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่ไม่สหรคตด้วยสุข ฯลฯ โทมนัสจึง
เกิดขึ้น สุขจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่สหรคตด้วยสุข
และสุขโดยปุเรชาตปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :518 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 91. สุขสหคตทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขโดย
ปุเรชาตชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุด้วยจิตที่
สหรคตด้วยสุขโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความ
ยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่สหรคตด้วยสุขจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยสุขโดย
ปุเรชาตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขและ
ไม่สหรคตด้วยสุขโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและ
วัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุด้วยจิตที่
สหรคตด้วยสุข โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภ
ความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่สหรคตด้วยสุขจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยสุขและสุขโดย
ปุเรชาตปัจจัย (3)

... เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย มี 3 วาระ
... เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจจัย มี 9 วาระ

กัมมปัจจัยเป็นต้น
[175] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุขเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วย
สุขโดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ (กัมมปัจจัย
มี 6 วาระ คือ พึงเพิ่มทั้งสหชาตะและนานาขณิกะ เป็น 4 วาระ เพิ่มนานาขณิกะ
เป็น 2 วาระ)

... เป็นปัจจัยโดยวิปากปัจจัย มี 9 วาระ
... เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย มี 4 วาระ
... เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย มี 9 วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :519 }